สาระ น่ารู้

มารู้จักตัวเองมากขึ้น ด้วยแบบวัดบุคลิกภาพ MBTI

แบบวัดบุคลิกภาพ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator)

  • MBTI เป็นแบบวัดบุคลิกภาพที่มีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 โดยถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย Isabel Briggs Myers และ Katharine C. Briggs ซึ่งต่อยอดมาจากทฤษฎีของ Carl Jung (คาร์ล จุง)
  • คาร์ล จุง พบว่า พฤติกรรมไม่ได้เป็นลักษณะเฉพาะของคนใดคนหนึ่งแต่หลายๆ คนสามารถมีแบบ (patterns) ของพฤติกรรมที่เหมือนหรือคล้ายๆ กันได้ โดยเป็นพฤติกรรมที่เป็นระบบระเบียบ (Orderly) ที่มีความถาวรคงเส้นคงวา แบบของพฤติกรรมที่ทำให้คนแตกต่างกันก็คือแบบที่คนมักแสดงออกบ่อย ๆ (preferences) ซึ่งจะสะท้อนเจตคติของบุคคลที่มีต่อโลก
  • คาร์ล จุง ได้ใช้อักษร(ตัวแปร) ทั้ง 8 คือ E I P S T F N J มาจัดเป็นชุด ชุดละ 4 ตัวอักษร ทำให้เกิดเป็นลักษณะบุคลิกภาพทั้งหมด 16 แบบ
  • เป็นแบบวัดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะวัดบุคลิกภาพแล้ว ยังมีแนวโน้มในการใช้เลือกอาชีพที่เหมาะสมรวมถึงการเลือกคู่ครองอีกด้วย

 

แบบวัดนี้จะแบ่งบุคคลเป็น ๔ มิติ คือ

ie-personalities

https://www.16personalities.com

 

1. เปิดเผย แสดงตัว (Extroversion) – เก็บตัว (Introversion)

  • Extravert: มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สนใจที่จะสังสรรค์สมาคม ชอบทำกิจกรรม ชอบอยู่กับคนอื่น และสนใจทุกอย่างที่พบเห็น
    Introvert: 
    เป็นคนที่เงียบขรึม สมถะ ไม่ชอบสุงสิงกับคนอื่น ชอบคิดอะไรลึกซึ้ง และมักจะเป็นคนคิดก่อนทำ

 

sn-personalities

https://www.16personalities.com

 

2. ใช้ประสาทสัมผัส (Sensing) – หยั่งรู้ (iNtuition)

  • Sensing: มักชอบทำงานที่อยู่กับความเป็นจริง (Practical) มีความอดทนเป็นพิเศษกับรายละเอียดและข้อเท็จจริงเฉพาะหน้า
    iNtuition: 
    เชื่อมั่นหรือพอใจรับรู้แสวงหาข้อมูลโดยการคาดการณ์ มองการณ์ไกล มองเลยไปจากข้อเท็จจริงไปสู่ความน่าจะเป็นไปได้ แสวงหาวิธีการใหม่ๆในการทำงานหรือการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่ม มีจินตนาการ และมีแรงบันดาลใจสูง

 

tf-personalities

https://www.16personalities.com

 

3. ใช้ความคิด (Thinking) – ใช้ความรู้สึก (Feeling)

  • Thinking: มีลักษณะตัดสินใจโดยใช้กระบวนการคิดที่มีเหตุผล มีระเบียบและเป็นขั้นตอน ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน ทำอะไรเป็นงานเป็นการไม่เยิ่นเย้อ ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างยุติธรรม
    Feeling: 
    ตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกและค่านิยม ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น ชอบทำงานกับคน มีแนวโน้มที่จะสงสารและให้กำลังใจผู้อื่น

 

jp-personalities

https://www.16personalities.com

 

4. ตัดสิน (Judgement) – รับรู้ (Perception)

  • Judgement: ดำเนินชีวิตมีระเบียบแบบแผนเป็นขั้นตอน ควบคุมชีวิตของตนเองได้ดี ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ในแต่ละเรื่อง ชอบใช้ชีวิตอย่างมีโครงสร้าง มีขั้นตอน
    Perception: 
    ดำเนินชีวิตแบบสบายๆ ยืดหยุ่นเป็นธรรมชาติ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ไม่ชอบความเป็นระเบียบหรือเคร่งครัดมาก ชอบการตอบสนองที่เป็นธรรมชาติ ต้องการเข้าใจคนมากกว่าการไปควบคุมคน และพร้อมที่จะรับสถานการณ์อะไรที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ

สามารถลองทำแบบวัดบุคลิกภาพ MBTI ได้ที่นี่

 

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก :

– www.mangozero.com

– www.16personalities.com

” EF (Executive Functions/ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ)”

(_/)
( •_•)
/ >🧠 “มนุษย์เรานี้” !!!!
จดจำอดีต……………คิดวิเคราะห์
วางแผน………………จัดการ
ยับยั้งชั่งใจ…………..อดทนอดกลั้น
พิจารณาไตร่ตรอง….แยกแยะถูกผิด
ประเมินตนเอง………กล้าคิดริเริ่ม
ยืดหยุ่น……………….ปรับตัว
ควบคุมอารมณ์………มีสติตั้งมั่น
พากเพียร…………….ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่
เพราะมี EF
.

EF (Executive Functions/ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ) คืออะไร ??
• คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการกำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
.
• EF (Executive Functions) เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต
.
>> (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะ คือ
– – – – – – – – – – – – – – –
🚩 ● กลุ่มทักษะพื้นฐาน
– – – – – – – – – – – – – – –
01.
Working memory
ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

02.
Inhibitory Control
การยั้งคิด ไตร่ตรอง และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”

03.
Shift หรือ Cognitive Flexibility
การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้

– – – – – – – – – – – – – – – – – –
🚩 ● กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
– – – – – – – – – – – – – – – – – –
04.
Focus / Attention
การจดจ่อใส่ใจ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

05.
Emotional Control
การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น

06.
Self -Monitoring
การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร

– – – – – – – – – – – – – –
🚩 ● กลุ่มทักษะปฏิบัติ
– – – – – – – – – – – – – –
07.
Planning and Organizing
การวางแผน และการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน

08.
Initiating
การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

09.
Goal-Directed Persistence
ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
.
.
— — —
#ขอขอบคุณที่มา:
สถาบัน RLG (http://www.rlg-ef.com)
And ThaiPBS
v ^_____________________^ ok
.
.
.
.
🌱
🥰
#TrainerBackpacker

“ทักษะการสั่งงาน รับงาน ด้วย 5W + 1 H”

🤷‍♂️ สั่งงานอย่าง…แต่กลับได้อีกอย่าง ?
“อีหยังหว๋า” เกิดดราม่าขึ้นมาทันที ในลักษณะที่
“มองต่างมุม – มึนต่างมุม”
.
เมื่อการสื่อสารเทาๆ ขาดความชัดเจน
ไม่มีฝ่ายไหนถูกหรือผิดทั้งหมดหรอกครับ
ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละฝ่าย
ที่ทำให้เกิดมุมมึนๆ … อึนๆ
.
ในเรื่องการสั่งงานและการทำงานไม่ตรงคำสั่ง
ถ้าจะต้องตามหาฝ่ายที่ควรรับผิดชอบ คงจะยากครับ
เพราะต่างมีเหตุผลรองรับกันหมด
.
มาวินๆ ทั้งสองฝ่ายกันดีกว่าครับ
ปรับแก้คนอื่นนั้นยาก …
ปรับแก้ตัวเองนั้นง่ายกว่ามาก
— — — — — — — — — —
🤷‍♂️ ในมุมของผู้พูดหรือผู้สั่งงาน (หัวหน้า) …
เวลาสั่งงาน ควรสั่งงานตรงประเด็น ต้องการอะไร
ไม่วกวน ยืดยาว และชัดเจนในสิ่งต่อไปนี้ …
.
● ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ?
● สิ่งที่ต้องการให้ทำ ?
● ให้ทำที่ไหน ?
● กำหนดเวลาเสร็จเมื่อไหร่ ?
● เป้าหมายที่ต้องการคืออะไร ?
● บอกเหตุผลด้วยว่าทำไมต้องทำงานนี้ ?
● แนะนำแนวทางการทำงานสักเล็กน้อย ?
● ลดท่าทางที่ดุดัน… ลูกน้องจะได้กล้าถามถ้าไม่เข้าใจ
● ตบท้ายด้วยการให้กำลังใจสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
● และยินดีให้คำปรึกษาหากพบปัญหาขณะทำงาน
— — — — — — — — — —
 
 
🤷‍♀️ ในมุมของผู้ฟังหรือผู้รับสาร (ลูกน้อง) …
เวลารับคำสั่งงานควรตั้งหน้าตั้งตาฟัง มีสมาธิ ตั้งใจฟัง
ใส่ใจเหมือนเผือกเรื่องชาวบ้าน และจับประเด็นให้ได้ ดังนี้ …
● ใครเป็นคนทำงานนี้ (ตัวเองหรือเพื่อน) ?
● ต้องทำงานอะไรบ้าง ?
● ต้องไปทำงานที่ไหนหรือติดต่อกับส่วนงานไหน ?
● ต้องทำงานให้เสร็จภายในเมื่อไหร่ ?
● ต้องเข้าใจจุดประสงค์ว่าทำไมต้องทำงานนี้ ?
● ต้องรู้ว่าจะทำงานนี้อย่างไร ?
● ตบท้ายให้ถามหัวหน้าให้ชัดเจนก่อนแยกย้ายกันไปทำงาน
● อย่ากลัวที่จะถาม เพราะถ้าทำไม่ถูกตามคำสั่ง
จะสูญเสียเวลาอย่างมาก และถูกตำหนิได้
● ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ได้เป็นการเสียหน้า
● แต่การถามเพื่อให้เข้าใจ
จะทำให้เราพัฒนาและเก่งขึ้นตามลำดับ
— — — — — — — — — —
🗣 ผู้พูด (ส่งสาร) กับ👂ผู้ฟัง (รับสาร)
หรือไม่ว่าจะเป็นทั้งหัวหน้าและลูกน้อง
ต่างฝ่ายต่างควรใช้เทคนิคพื้นฐานของ 5W+1H
.
— ใครทำ ? … (1).Who ?
— ทำอะไร ? … (2).What ?
— ทำที่ไหน ? … (3).Where ?
— ทำเมื่อไร ? … (4).When ?
— ทำทำไม ? … (5).Why ?
— ทำอย่างไร ? … (1).How ?
.
(_/)
( •_•)
/ >♥️ ทั้งการสั่งงานและการรับคำสั่งงาน
เพื่อให้การทำงานร่วมกันเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1️⃣ Who ?
ในเรื่องที่เรากำลังพูดคุยเพื่อปรึกษาหารือกัน หรือกำลังจะสื่อสารกันเรื่องงานอะไรก็แล้วแต่ มีใครที่เกียวข้องบ้าง (ระบุชื่อให้ชัดเจนไปเลย) ทำให้ลดการเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
2️⃣ What ?
การสั่งงานควรระบุให้ชัดเจนว่าให้ทำอะไร ควรเปิดประเด็นให้เคลียร์ๆ ชัดเจนไปเลยตั้งแต่ครั้งแรก อย่ามัวแต่พูดอ้อมค้อมชักแม่น้ำทั้งห้า ทำให้เสียเวลาทั้งผู้พูดและผัูฟัง
3️⃣ Where ?
ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะชื่อ, วิธีการเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ ควรตรวจสอบให้ดีว่าสะกดถูกต้องหรือไม่ อาจจะระบุ Location โดยการใช้วิธีปักหมุด Location ก็ต้องตรวจสอบว่าถูกต้องหรือเปล่า รวมไปถึงแผนที่ต่างๆ ต้อง Check ก่อนทุกครั้งว่า update ไหมก่อนส่งให้ผู้อื่นทุกครั้ง ลดความผิดพลาด วางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้
4️⃣ When ?
ระหว่างพูดเรื่องที่มีกำหนดการควรระบุวันเดือนปี และเวลาให้ชัดเจน ครบถ้วน เพราะสำคัญต่อการจัดลำดับความสำคัญของงาน และชีวิตประจำวันด้วยนะครับ
5️⃣ Why ?
ต้องให้ข้อมูล เป้าหมาย หรือจุดประสงค์ ข้อเท็จจริงระหว่างสื่อสารกันด้วย ไม่เอาคำอธิบายน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหลงเหลง และต้องแยกให้ออกด้วยว่าระหว่างข้ออ้าง-ข้อแก้ตัว กับ Fact
6️⃣ How ?
คำแนะนำสุดท้ายควรเสนอด้วยว่าควรเป็นยังไงต่อ เหตุการณ์ต่อไปจะทำยังไง จะไปยังไง จะซื้อยังไง ราคาเท่าไหร่ ควรบอกก่อนจะถูกถาม คือเสน่ห์ของการพูดสื่อสารที่ดูถึงความใส่ใจ
.
🙆‍♂️🙆‍♀️ ปรับที่ตัวเองนั้นไม่ยากครับ..
หมั่นฝึกฝนด้วยตนเองเป็นประจำ
ที่สำคัญคือต้องลดอีโก้ลงทั้งสองฝ่าย
แล้วมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน
เราก็จะวินวินและเข้าเส้นชัยไปพร้อมๆ กันแล้วครับ
– – – – –
(_/)
( •_•)
/ >📣 คุยง่ายได้งาน…จะสื่อสารต้องมีความสัมพันธ์
.
.
🌱
🥰
#วิทยากรนอกกล่อง #TrainerBackpacker

“เทคนิคการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน”

_/)
( •_•)
/ >⏰ “เวลามีจํากัด และไม่มีใครได้มากกว่าใคร”
.
การทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณค่า หนีไม่พ้นเลยที่ต้องมีการทํางานให้อยู่ภายใต้เวลาที่กําหนด ดังนั้น การบริหารและจัดสรรเวลา จึงเป็นเหมือนสิ่งที่คู่กันกับการทํางานเสมอ ไม่ใช่เพียงแต่ทําให้เกิดผลของงานตามเป้าหมายของงานที่ตั้งไว้เท่านั้น แต่ยังทําให้เกิดความสุขใจ สบายกาย ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้ร่วมงาน และต่อผู้บังคับบัญชาอีกด้วย เมื่อเกิดการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ จนมีเวลาเหลือ เราก็สามารถนํามาใช้ทําอย่างอื่นได้อีกมากมายตามที่ต้องการ
—————————————————
(_/)
( •_•)
/ >📝 เทคนิคการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน
—————————————————
1️⃣
หาเวลาว่างตอนเช้าซักกะนิด ดึงสติเพื่อใช้สมาธิในการวางแผนงาน
.
— วางแผนการใช้เวลาในแต่ละวัน (มีงานไหนบ้างต้องส่งวันนี้ กี่โมง ?)
— คิด วิเคราะห์ แยกแยะ เรียบเรียงความคิดจัดอันดับงานเร่งด่วนก่อนหลัง อย่ารีบเร่งตัวเองจนเผลอลืมทำให้งานบางอย่างเสียหายได้
— ตั้งเป้าหมายต้องให้ชัดเจนว่าในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง
—————————————————
2️⃣
จดบันทึกในสมุดบันทึก และจัดตารางเวลา
.
— สร้าง To-Do-List มีงานอะไรบ้าง มีประชุม, นำเสนอ, มีติดต่อประสานงานกับใครหรือส่วนงานต่างๆ เป้าหมายนี้สามารถวางแผนได้ล่วงหน้า เช่นการจดบันทึกในปฏิทินรายวันการทำงาน หรือประจำสัปดาห์ ประจำเดือน เป็นต้น
—————————————————
3️⃣
จงเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี อย่าให้เทคโนโลยีใช้คุณ ไม่เล่นโซเชียลมีเดียเวลางานมากจนเกินไป เพราะลดเวลาตรงนี้ได้งานหลายๆ อย่างสำเร็จทันเวลาแน่นอน
.
— ควรใช้ช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัยในยุคปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ เช่นการคุยกันทางโทรศัพท์ conference call, การประชุมออนไลน์ ประหยัดเวลาในการเดินทางได้
—————————————————
4️⃣
ทํางานที่คิดว่ายากในตอนเช้า เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายพร้อมต่อการทํางานมากที่สุด ควรใช้เวลาช่วงเช้าสำหรับงานที่ต้องคิดวิเคราะห์ข้อมูล หรือต้องติดต่อขอข้อมูลกับผู้อื่น เพราะระหว่างรอข้อมูล เราสามารถทำงานอื่นต่อไปได้ (ใช้เวลาให้เกิดผลสูงสุด)
.
— มีความรับผิดชอบต่อแผนงานตัวเอง ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง
—————————————————
5️⃣
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง ว่าจะจิตใจจดจ่ออยู่กับงานมากน้อยขนาดไหน ถ้ามีสติอยู่กับงานและใส่หัวใจลงไปในการทำงาน ต่อให้งานบานเบอะเยอะแยะขนาดไหน ทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีแน่นอน
.
— ควรมีหรือสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะจะช่วยงานคุณได้ บางงานที่เราต้องการจัดทําข้อมูลหรือต้องการผลวิเคราะห์จากหน่วยงานอื่นๆ (คือต้องง้อคนอื่นนั่นเอง) แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่าเขาก็มีงานประจำของเขา ควรเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการขอข้อมูลจากผู้อื่น
— เจาะจงเฉพาะเรื่องที่ควบคุมได้ เพราะบางอย่างที่อยู่เหนือการควบคุมของเราอาจจะทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
—————————————————
(_/)
( •_•)
/ >♥️ หัวใจสําคัญของการบริหารเวลา
Do one thing at a time “ทำทีละอย่าง” :^ )
—————————————————
1️⃣
เรียนรู้ที่จะจัดลําดับความสําคัญ โดยการเอางานทั้งหลายมาจัดลําดับความสําคัญแล้วลงมือทํางานที่สําคัญที่สุดก่อน และอีกเทคนิคการทำตามลำดับความสำคัญ(Put First Things First) โดยแบ่งกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตเราแบ่งออกเป็น 4 แบบ หรือ 4Q (Quadrants) ที่สำคัญคือ การวิเคราะห์ “ความสำคัญ” (Importance) และ “ความเร่งด่วน” (Urgency) ของงานแต่ละชิ้น ว่าจัดอยู่ในประเภทใด เราลองมาสำรวจกันดูครับ
.
Q1 ✅✅ | Q2 ✅❌
———————————
Q3 ❌✅ | Q4 ❌❌
.
.
Q1 : สำคัญและเร่งด่วน
✅ Importance ✅ Urgency
Q2 : สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน
✅ Importance ❌ Urgency
Q3 : ไม่สำคัญ แต่เร่งด่วน
❌ Importance ✅ Urgency
Q4 : ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน
❌ Importance❌ Urgency
.
ถ้าดูผิวเผิน ส่วนที่สำคัญอาจจะเป็น Q3 และ Q1 เนื่องจากมันเร่งด่วนแต่ในความจริงแล้ว ถ้าเราไม่ยอมทำงานสำคัญที่ไม่เร่งด่วน สุดท้ายมันจะกลายเป็นงานด่วนที่สำคัญเช่นกัน
.
ดังนั้น เราจึงควรเข้าใจถึงชนิดของงานเราแต่ละชิ้นด้วย เพื่อนำมาวางแผนบริหารจัดการเวลาของเราได้ดียิ่งขึ้น
2️⃣
เรียนรู้ที่จะมอบหมายงาน โดยพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมทํางานแทนในกิจกรรมต่างๆ และให้ความไว้วางใจกับงานที่เขาทําได้
3️⃣
เทคนิคการบริหารเวลาในระดับหน่วยงานควรแยกเป็นระดับเพื่อการนำไปปฏิบัติได้จริงด้วยเทคนิคตามแบบ Time Management for Lean Leadership
• ดูแผนงานขององค์กรโดยภาพรวมทั้งปี (Business Plan)
• ย่อยแผนเป็นรายเดือน (Monthly Task)
• ทำแผนงานรายสัปดาห์ (Weekly Task)
• แผนงานรายวันหรือเป้าหมายประจำวัน (Today’s Priorities)
—————————————————
🚩 🍀 สรุปแล้วคนเรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันก็จริง แต่ในความรู้สึก เราทุกคนมีเวลาต่างกันบางคนอาจมองว่า 1 วันมันช่างยาวนานเหลือเกิน ไม่เห็นมีอะไรให้ทำเลย ในขณะที่บางคนอาจมองว่า 24 ชั่วโมงใน 1 วันมันน้อยเกินไป ยังไม่ทันได้ทำอะไรเลย ก็หมดวันแล้ว
.
และยิ่งในยุคนี้แล้ว ความท้าทายยิ่งมีมากกว่ายุคก่อน เพราะเป็นยุคที่ทุกอย่างแข่งกับเวลา ดังนั้น “การบริหารเวลา” (Time Management) จึงเป็นเรื่องสำคัญ
.
.
.
🌱
🥰 ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : 
#TrainerBackpacker
#วิทยากรนอกกล่อง

“ไขความลับ แผนการตลาดของ “พิมรี่พาย” ศรัทธา-ท้าทาย และกลยุทธ์ “กล่องสุ่ม”

ไขความลับ แผนการตลาดของ “พิมรี่พาย” ศรัทธา-ท้าทาย และกลยุทธ์ “กล่องสุ่ม”⁣
เริ่มเปิด “กล่องสุ่ม” พิมรี่พาย หรือ “พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์” แล้ว หลังจากมี “บิวตี้บล็อกเกอร์” รายหนึ่ง เข้าไปคอมเมนต์ “ถ้าสั่งกล่องสุ่มเครื่องสำอางแสนนึง แม่ขายมั้ย” ซึ่งมีหรือ “พิมรี่พาย” จะยอม ก่อนจะเปิดรหัสขายของกล่องสุ่ม ราคา 100,000 และใครจะคิด แค่เพียง 10 นาที ก็มีคนซื้อมูลค่า 100 ล้านบาท⁣ …. 
คลิกเพื่ออ่านต่อ .... ไขความลับ แผนการตลาดของพิมรี่พาย

ล่าสุด พบว่าคนที่ซื้อกล่องสุ่มไป ล้วนไปทำคอนเทนต์ของตัวเอง และ มีอยู่รายหนึ่ง “ได้รถเก๋ง” ไปเลยหนึ่งคัน บางคนได้ “ไอโฟน” ได้ทองคำ บวกกับเครื่องสำอางเคาเตอร์แบรนด์กล่องใหญ่ 

ในมุมมองของนักการตลาด ปรากฏการณ์นี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นง่ายๆ  ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงชวน อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด เจ้าของฉายา “ขาโหด” และคุณมัณฑิตา จินดา หรือ ทิป Founder and CEO of Digital Tips Academy และผู้จัดงาน Digital SME conference Thailand 

เบื้องหลังความสำเร็จ Personal Branding ความเชื่อใจว่าไม่โกง

“ขาโหด” อย่าง อาจารย์ธันยวัชร์ มองเรื่องนี้ว่าไม่ใช่เรื่อง “บังเอิญ” แต่มีกลยุทธ์ทางการตลาดแอบแฝงหลายประการ

“พิมรี่พาย” เองใช้เวลาในการทำ Personal Branding มาหลายปี เป็นประเภทแม่ค้าที่ “ขายทุกอย่าง” การเป็นเบอร์ 1 นอกจากจะเป็นแม่ค้าเบอร์ 1 แล้ว ยังเป็นเบอร์ 1 ในโลกออนไลน์ เธอคือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการสร้าง Personal Branding ไม่ใช่แค่แม่ค้าออนไลน์ แต่เป็นตัวอย่างของคนที่เรียกว่า If you can sale, You can sell everything (หากขายได้ และสร้างความเชื่อมั่นได้แล้ว ก็จะสามารถขายอะไรก็ได้ แม้กระทั่งกล่องสุ่มที่ไม่รู้ว่าข้างในเป็นสินค้าอะไร)

อ.ธันยวัชร์ กล่าวต่อว่า เมื่อเขาขายของจนได้กำไรมากมายแล้ว พิมรี่พาย ก็เลือกที่จะมาในโลกออฟไลน์ ด้วยการทำ CSR เช่น ช่วยเหลือเด็กที่อมก๋อย สร้าง รพ.สนาม ซึ่งกลายเป็นข่าวตลอด สื่อที่ไม่เคยลงข่าวพิมรี่พาย ก็ลงข่าวพิมรี่พาย จึงกลายเป็นพลังของมีเดีย

“คนที่ไม่เคยซื้อของกับเขา วันนี้ได้รู้จักเขา ถึงแม้คนที่ไม่ได้ซื้อของออนไลน์ เป็นรุ่นพ่อแม่ ก็รู้จักพิมรี่พาย เธอจึงถูกตอกย้ำว่าเป็น Big Brand เบอร์ 1”

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด เจ้าของฉายา “ขาโหด”
ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด เจ้าของฉายา “ขาโหด”

ที่ผ่านมา การขายในเฟซบุ๊ก มีการหลอกลวงเยอะ บางครั้งซื้อของจากเฟซบุ๊ก ราคา 100 เมื่อมาดูใน Shopee หรือ Lazada ของราคา 20 บาท หรือบางทีก็ไม่ได้ของด้วย แต่สำหรับพิมรี่พายไม่ใช่ เพราะเธอสร้างความน่าเชื่อถือได้แล้ว การซื้อจึงไม่จำเป็นต้องการอะไรการันตี เพราะ แบรนด์ของพิมรี่พาย การันตีว่าได้ของแน่ และได้ของอย่างที่การันตีไว้

“สิ่งที่เขาทำ คือ ไปสร้างโรงพยาบาลสนาม ไปทำที่สูบน้ำบาดาลให้ ใช้เงินมหาศาล เขาคงไม่มีโกงกับเงินไม่กี่บาท อีกทั้งเขายังทำแบรนด์ของเขาเอง เช่น โรงงานปลาร้า ใช้เงินเป็นพันล้าน.. ด้วยสิ่งนี้จึงย้อนมาคำพูดที่ว่า  if you can sell yoursef, you can sell everything ถ้าคุณขายตัวเองได้ คุณก็ขายได้ทุกอย่าง ซึ่งการขาย “กล่องสุ่ม” มีคนมาซื้อเป็นเงินนับ 100 ล้าน เพราะเขาเชื่อ…ในพิมรี่พาย”

มัณฑิตา จินดา หรือ ทิปFounder and CEO of Digital Tips Academy
มัณฑิตา จินดา หรือ ทิป Founder and CEO of Digital Tips Academy

ขณะที่ มัณฑิตา จินดา หรือ ทิป Founder and CEO of Digital Tips Academy มองประเด็นคล้ายกับ “ขาโหด” โดยระบุว่า ความสำเร็จของเธอ มาจาก 3 ส่วน

1.trust ความเชื่อใจ : “พิมรี่พาย” สามารถทำได้ เพราะเขาไลฟ์ขายของมานานแล้ว จนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และเป็นคนที่ทำประโยชน์คืนกลับให้สังคม หากเป็นคนที่ไม่รู้จัก มาไลฟ์ขายกล่องสุ่ม เราจะกล้าซื้อไหม… แต่เมื่อเป็นพิมรี่พาย คนรู้จัก ด้วย Personal Brand ที่ทุกคนเชื่อใจว่าไม่โกงเราแน่ๆ

2.ความตื่นเต้น : ตรงนี้คือกลยุทธ์ในฝั่งลูกค้า “กล่องสุ่ม” เป็นการเล่นกับความตื่นเต้น หรือเซอร์ไพรส์ โดยทั่วไปธรรมชาติกล่องสุ่ม เมื่อเราจ่ายเงินไป 100 บาท แบรนด์ต่างๆ ที่ใช้กลยุทธ์นี้ก็มักจะใส่ของมูลค่าที่มากกว่าอยู่แล้ว แต่บวกกับความตื่นเต้น สนุกด้วย

“คนที่เป็นลูกค้า ก็เชื่อว่า ฉันจ่ายเงินไป 100,000 บาท ฉันต้องได้ของมามากกว่ามูลค่าอยู่แล้ว ลูกค้าเชื่อว่าจะได้ของที่คุ้มค่าคุ้มราคาอยู่แล้ว หรือบางคนที่คอมเมนต์มาว่า จะเอาไปทำคอนเทนต์ต่อ”

3.การมีส่วนร่วม : พอมีคนเริ่ม “เอฟ” (คอนเฟิร์ม) คนที่ดูอยู่ก็รู้สึกว่า เราเอาด้วยดีกว่า มีความลุ้น ประกอบกับว่า มาถูกที่ถูกเวลา เพราะช่วงนี้เป็นช่วงปลายปีแล้ว กำลังอยากได้เงินมาจับจ่ายใช้สอย

กลยุทธ์ “กล่องสุ่ม” มักเป็นสินค้าที่คุ้นเคย ใครๆ ก็ทำได้ แต่ “พิมรี่พาย” ยืน 1

คุณทิป ยังอธิบายเรื่องกลยุทธ์กล่องสุ่ม ว่า เทรนด์นี้เริ่มมีมาสักพักแล้ว ปกติแล้ว สินค้าที่ใช้กลยุทธ์นี้จะมี 2 ลักษณะ

1.เป็นสินค้าที่คุ้นเคย เช่น อาหารทะเล รู้อยู่แล้วว่าอาหารทะเลมีอะไร หรือสินค้าที่รู้สึกลุ้น เช่น เปิดมาแล้วต้อง “Wow”

2.แบรนด์ต้องน่าเชื่อถือ เพราะการจะทำกล่องสุ่มให้ยั่งยืนได้ ต้องอาศัยความจริงใจของผู้ขายด้วย เพราะสิ่งที่จะตอบแทนลูกค้าได้ คือ เขาต้องได้ของที่คุ้มค่าคุ้มราคา เพราะหากแบรนด์ไหนเอาเปรียบลูกค้า ลูกค้าอาจจะไม่กลับมาเป็นครั้งที่สอง

ด้านขาโหด ได้อธิบายกลยุทธ์กล่องสุ่ม อย่างสนุกสนาน การใช้กลยุทธ์กล่องสุ่ม ก็เหมือนการเล่นลอตเตอรี่ มันสนุก และไม่รู้ว่าข้างในเป็นอะไร ซึ่งคนรุ่นใหม่รู้สึกชินกับเรื่องแบบนี้ และไม่รู้ว่าของข้างใน “จะได้มากกว่าราคา” หรือไม่ ถ้าโชคดีก็อาจจะได้ของมูลค่า 5 แสนบาทก็ได้ หรือถ้าโชคร้ายก็อาจจะได้ของไม่กี่หมื่น

“การขายกล่องสุ่ม คือ การขายความตื่นเต้น และแบรนด์พิมรี่พาย”

นอกจากนี้ตอนที่พิมรี่พายไลฟ์สด พิมรี่พาย ยังใช้กลวิธี power of context

จังหวะที่ “พิมรี่พาย” ควักโทรศัพท์ขึ้นมา “มีเงินโอนเข้ามาแล้ว 50 ล้าน”

ความรู้สึกตรงนั้น เหมือนเรากำลังประมูลของ ตรงนี้เรียกว่า power of context คือบริบททำให้คนตัดสินใจ เหมือนการเล่นคริปโต วันหนึ่งขึ้นลง บางตัวขึ้น 50% ในวันเดียว รีบเปิด รีบซื้อ

เหมือนกับการบริจาค เช่น มีการประกาศชื่อ นาย ก. บริจาคแล้ว 1 ล้าน นาย ข. หรือ นาย ค. จะไม่บริจาคได้ยังไง

“วันนั้นคนดูเป็นล้านคน และคนไทยเป็นแนว collective (อยากมีส่วนร่วม) เวลาเดินทางไหน เราก็ไปด้วย หรือเหมือนว่าเราดูสารคดี เห็นปลาตัวหนึ่งว่ายไปทางซ้าย ปลาตัวอื่นๆ ก็จะว่ายตามไป ซึ่งไม่ใช่แค่คนไทย คนเอเชียจะเป็นแบบนี้ ทำอะไรก็มักทำตามกัน อีกทั้งของที่ขายก็เป็นสินค้าผู้หญิง ซึ่งเครซี่ง่าย…

ไม่ใช่พิมรี่พาย ทำได้ไหม ขาโหด ตอบทันทีเลยว่า “ไม่ได้ เพราะเงิน 1 แสนบาทจะโอนให้ทันทีเลย มันยากมาก เพราะการขายของแพงๆ มีการโกงกันเยอะ โดยเฉพาะสินค้าพวกกระเป๋าแพงๆ แต่พิมรี่พายเขาทำได้ เพราะเขามีตัวตนชัดเจน ของสาธารณประโยชน์ที่ใช้เงินมหาศาลยังบริจาคได้

 

อาจารย์ธันยวัชร์ ตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่พิมรี่พายกำลังทำ คือ การเล่นกับความรู้สึกของคน และพิมรี่พาย ต้องไม่ทำให้คนที่ซื้อผิดหวัง ฉะนั้น ของที่ให้คนซื้อกล่องสุ่ม จึงอาจจะมีราคามากกว่า 1 แสนบาท ซึ่งต่อไป พิมรี่พาย ก็ไม่จำเป็นต้องขายของราคาถูกอย่างเดียว แต่จะขายของที่เป็น “ลิมิเต็ด” หรือ ขายอะไรก็ได้ ขนาดกล่องสุ่ม ที่ไม่รู้ว่าข้างในเป็นอะไรยังขายได้ และหลังจากนี้ แบรนด์สินค้าที่เข้ามาก็อาจจะหลากหลายขึ้น ถือเป็นการอัพเกรดแบรนด์พิมรี่พายไปอีก  

สิ่งที่ “พิมรี่พาย” ต้องระวัง และแบรนด์พันล้านรักษาไว้

ผู้เขียนถาม อาจารย์ธันยวัชร์ ว่า สิ่งที่แม่ค้าพันล้านอย่างพิมรี่พาย ต้องระมัดระวัง คืออะไร ขาโหด ตอบว่า “ผมเชื่อว่าเวลานี้สิ่งที่พิมรี่พายต้องทำ คือ Brand police หมายถึงว่า คุณต้องมีตำรวจในการคอยสอดส่องให้แบรนด์ไม่ให้เกิดอาชญากรรม และต้องไม่ให้เกิด Brand damage แบรนด์ต้องไม่ผุกร่อน เช่น you get what, you see สิ่งที่คุณได้ จะต้องเป็นสิ่งที่เห็น  ซึ่งพิมรี่พาย ได้ทำแล้ว

2.การที่พิมรี่พาย ขายของคนอื่นๆ ซึ่งไม่ได้คุมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ซึ่งกรณี กล่องสุ่ม พิมรี่พาย ต้องมีกระบวนการ QC เพราะพิมรี่พายมีแบรนด์แม่ค้าพันล้านต้องรักษา

3.การทำ CSR ต้องไม่กระทบธุรกิจหลัก เพราะการทำ CSR ที่ผ่านมา มักจะเข้าไปยุ่งกับเรื่องภาครัฐ และไม่จำเป็นต้องเด่นมากเกินไป หรือบ่อยเกินไป อย่าไปยุ่งกับภาครัฐมากไป เพราะเขามีกฎเกณฑ์ หากไปทำอะไรผิดกฎเกณฑ์ อะไรที่คิดว่าดี อาจจะกลายเป็นร้ายก็ได้

การทำ CSR ก็มีหลายอย่างที่พิมรี่พายทำได้ เช่น เวลานี้ พิมรี่พาย อาจจะระดมเอามือถือเก่าไปให้มูลนิธิกระจกหกด้าน เพื่อเด็กจะได้เข้าถึง ซึ่งเรื่องนี้พิมรี่พายทำได้ หรือบริจาคเสื้อผ้าเพื่อช่วยเด็กดอย ซึ่งตอนนี้ตัวพิมรี่พายเปรียบเหมือน “วัดสวนแก้ว” เลย ไม่จำเป็นต้องควักเงินด้วยตัวเอง แต่เป็นสะพานบุญ ทำเพื่อสังคมจริงๆ ไม่ได้ทำเพื่อให้ตัวเองดัง

คนอาจจะมองว่า “พิมรี่พาย” หิวแสง แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะ “พิมรี่พาย” คือ ดาวฤกษ์ คือ มีแสงในตัวอยู่แล้ว คนที่หิวแสง ต้องไม่มีแสง เป็นดาวเคราะห์ พิมรี่พาย แค่ใช้ความเป็นดาวฤกษ์ไปช่วยสังคม สิ่งที่ต้องระวัง คือ การพาดพิงเรื่อง “ละเอียดอ่อน” โดยเฉพาะ “การเมือง” ถ้าไม่จำเป็นอย่าไปยุ่ง เพราะเป็นคนค้าขาย ไม่ใช่ค้าความ

โคตรแม่ค้า “ทรงอิทธิพล”

ในช่วงท้าย ผู้เขียนถามว่า “พิมรี่พาย” ทรงอิทธิพลแค่ไหนในมุมมองการตลาด ขาโหด ได้แจกแจงออกมาเป็น 4 P

Product : สินค้ามี 2 อย่าง คือ จับต้องได้ (สินค้า) กับจับต้องไม่ได้ (พวกสินค้าที่ต้องดาวน์โหลด)
Price : มีทั้งของถูกและแพง ซึ่งพิมรี่พายมักจะขายของไม่แพงนัก
Place : ช่องทางการจัดจำหน่ายของพิมรี่พายเปลี่ยนไปมาก ไม่ใช่แค่ออฟไลน์ ออนไลน์ โซเชียลมีเดีย
Promotion : ไม่ได้แปลว่าเป็นการลด แลก แจก แถม แต่หมายถึง Communication คือคุณต้องมาสื่อสารในโซเชียลมีเดีย

“สิ่งที่พิมรี่พายทำ จะเน้นไปที่ตัวที่ 3 กับ 4 คือ Place กับ Promotion โดยใช้ช่องทางในการตลาดมาเป็นช่องทางการขายด้วย คือ เฟซบุ๊ก ซึ่งนอกจากเป็นช่องทางการขายแล้ว ยังเป็นร้านค้าด้วย ซึ่ง ณ เวลานี้ P ตัวแรก Product พิมรี่พาย สามารถขายอะไรก็ได้ ส่วน Price ตั้งราคาเท่าไรก็ได้ ยกตัวอย่าง “กล่องสุ่ม” ก็ทำมาแล้ว ซึ่งเด็กรุ่นใหม่รู้จักกล่องสุ่มดี แต่ผู้ใหญ่บางคนยังไม่รู้จักเลย ซึ่งก็ขายได้ 100 ล้านมาแล้ว

อย่าลืมนะ พิมรี่พายเคยบอกว่า เขาไม่ได้ขายดีตั้งแต่วันแรก การที่เขามาถึงวันนี้ เพราะเขาทำงานหนัก เขากำลังบอกว่า “ฉันเป็นแบบนี้ได้ พวกเธอก็เป็นได้เหมือนกัน อยู่ที่มีความพยายามหรือเปล่า” อย่ามองตอนที่เขาประสบความสำเร็จ ต้องมองวันที่เขายังไม่มีอะไรด้วย ดูตัวอย่าง “บังฮาซัน” ไลฟ์สดวันแรกมีคนดูอยู่แค่ 5 คน รวมลูกกับเมีย

สิ่งที่กูรูด้านการตลาดทั้ง 2 คน คือ อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย คุณมัณฑิตา จินดา เห็นตรงกันคือ ความสำเร็จครั้งนี้ หัวใจหลัก คือ ความเชื่อใจ ที่กลายเป็นศรัทธาเธออย่างไม่มีเงื่อนไข

ทั้งนี้ ใครที่คิดจะซื้อ “กล่องสุ่ม” ก็อาจจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อด้วยนะครับ ต้องเลือกคนขาย แบรนด์ให้ดี เพราะการซื้อกล่องสุ่ม มีความเสี่ยง ไม่ต่างกับการเอาเงินไปเสี่ยงโชคซึ่งอาจจะไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับผลตอบแทนคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Facebook ไทยรัฐออนไลน์, พิมรี่พายขายทุกอย่าง , ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย , Digital Tips Academ

 

“ประกันรถยนต์แต่ละชั้น คุ้มครองอะไรบ้าง ?”

ประกันรถยนต์แต่ละชั้น คุ้มครองอะไรบ้าง ?
📣 ประกันรถยนต์แต่ละชั้น คุ้มครองอะไรบ้าง ? . . . เอาจริงๆ ถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องเบี้ย ประกันชั้น 1 คือคุ้มครองหายห่วงที่สุดแล้ว แต่ถ้าใครที่งบไม่มากพอ ลองมาเลือกประกันรถตามการใช้งานของเราดู ว่าขับขี่แบบเรา ควรทำประกันชั้นไหนดี ?
 
ประกันชั้น 1
เบี้ยแพงที่สุด เหมาะกับใครบ้าง ?
 
– รถใหม่ป้ายแดง รวมถึงรถที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี
ด้วยความใหม่จึงเป็นรถที่มีความเสี่ยงสูง เพราะมีโอกาสหายมากกว่ารถเก่า และด้วยความใหม่อีกเช่นกันที่ทำให้ผู้ขับขี่ยังไม่มีความคุ้นเคยในการใช้งานหรือการบังคับควบคุมรถขณะขับขี่
 
– ผู้ขับขี่มือใหม่ไร้ประสบการณ์
ไม่ว่าจะเป็นรถคันใดก็ตาม หากมีมือใหม่หัดขับมาเป็นผู้บังคับขับขี่แล้ว รถคันนั้นจะมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น การทำประกันภัยชั้น 1 จึงถือว่าเหมาะสมกับผู้ขับขี่มือใหม่มากที่สุด
 
– รถที่ใช้งานหนัก หรือวิ่งทางไกลประจำ
ความเสี่ยงของรถแต่ละคันไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ขับขี่หรือตัวรถเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานด้วย หากรถใช้งานหนัก วิ่งทางไกล หรือใช้เป็นประจำทุกวัน ย่อมส่งผลให้มีค่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
 
ระกันชั้น 2+
เหมาะกับใครบ้าง ?
 
 
– รถที่ใช้งานเป็นประจำ
ต้องใช้งานรถทุกวัน แต่มีความชำนาญในการขับแล้ว เลยไม่ห่วงในเรื่องการชนฟุตบาท (การชนแบบไม่มีคู่กรณี) เน้นเอาความสบายใจ
 
– จอดในพื้นที่เสี่ยง
รถที่ไม่มีที่จอดในที่ที่มีรั้ว เช่น จอดไว้หน้าบ้าน จอดรถริมถนน หรือมีความจำเป็นต้องจอดรถไว้ตามที่สาธารณะเป็นประจำ เช่น รถของผู้ที่มีอาชีพค้าขาย หากไม่อยากทำประกันภัยชั้น 1 สามารถทำประกันภัยประเภท 2+ ไว้อุ่นใจกว่าเยอะ และหากเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคู่กรณีก็ยังคงได้รับความคุ้มครองสำหรับความเสียหายในส่วนนี้อีกด้วย
 
ประกันรถชั้น 3+
เหมาะกับใคร ?
 
 
– รถเก่าที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป
ถึงรถจะเก่าเพียงใด แต่ก็จำเป็นต้องมีความคุ้มครองจากการทำประกันภัย แม้ว่าความคุ้มครองสำหรับตัวรถอาจไม่จำเป็นก็ตาม แต่การใช้งานโดยทั่วไปก็อาจสร้างความเสียหายให้กับคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกได้หากเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นถึงรถจะเก่าเพียงใด แต่ก็แนะนำให้ทำประกันภัยไว้สบายใจกว่า
 
– รถที่ใช้งานเป็นประจำ มีความชำนาญ แต่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องสถานที่จอดรถ
 
ประกันรถชั้น 2 และ 3
เหมาะกับใคร ?
 
 
ปัจจุบันประกันภัยกลุ่มนี้เริ่มไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีความคุ้มครองที่ไม่ครอบคลุม คือจะไม่คุ้มครองความเสียหายของรถคันเอาประกันภัย หากเกิดอุบัติเหตุ แม้จะเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยมีคู่กรณีก็ตาม ทั้งนี้ เมื่อนำความคุ้มครองของประเภท 2+ หรือ 3+ มาเปรียบเทียบแล้ว ถือว่าคุ้มค่ากว่ามากกับค่าเบี้ยที่จ่ายเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยแต่ได้ความคุ้มครองที่มากกว่า
 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : salehere

“MLR MOR MRR คืออะไร?”

คำศัพท์ทางการเงินน่ารู้ MLR MOR MRR คืออะไร

คำศัพท์น่ารู้!

MLR MOR MRR คืออะไร?

     อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร

     อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563
     อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
     MLR (Minimum Loan Rate)                 6.525% (ต่อปี)
     MOR (Minimum Overdraft Rate)         6.45% (ต่อปี)
     MRR (Minimum Retail Rate)               6.65% (ต่อปี)
 

สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งสินเชื่อเงินสดและบัตรกดเงินสดมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ จนทำให้หลายๆ คนอาจจะไม่เข้าใจกลไกวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของธนาคาร วันนี้ขออธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้เพื่อนๆ ฟัง ว่ามีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กี่รูปแบบ อะไรบ้าง

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แต่ละประเภท

อย่างแรกที่ต้องเข้าใจคือ ดอกเบี้ยเงินกู้ มีอัตราดอกเบี้ยหลักๆ 2 ประเภท ได้แก่

  1. อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่คงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กำหนดโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงินผู้ให้บริการ เช่น ดอกเบี้ย 0% 10 เดือน หรือดอกเบี้ย 9% 12 เดือน อย่างนี้เป็นต้น
  2. อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ธนาคารกำหนดตามต้นทุนของธนาคารในช่วงเวลาต่าง ๆ จะประกาศอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ จะมีคำว่า MLR, MOR และ MRR นั่นเองครับ โดยที่แต่ละธนาคารจะมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ไม่เท่ากัน เช่น MLR ของ ธนาคาร A อาจจะไม่เท่ากับ MLR ของธนาคาร B นั่นเอง

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR MOR และ MRR ต่างกันอย่างไร

1.     Minimum Loan Rate (MLR) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา

2.     Minimum Overdraft Rate (MOR) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี

3.     Minimum Retail Rate (MRR) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี

ตัวอย่าง

เช่น ธนาคาร ABC ให้กู้เงินซื้อบ้านในวงเงิน 5,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR – 1% ในช่วงแรกและ MLR + 1% ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารกำหนดในแต่ละปี ถ้าปีแรก MLR = 6.25% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5.25(MLR – 1%) ถ้าปีที่สาม MLR = 7.5% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 8.5(MLR + 1%) เป็นต้น

โดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย ซึ่งสามารถศึกษาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR MOR และ MRR ได้จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : https://www.set.or.th/ , https://www.gobear.com/

 

“SME ต้องรู้! หนี้สินหมุนเวียนคืออะไร?”

หนี้สินหมุนเวียน คืออะไร?

[สรุปง่ายๆ] หนี้สินหมุนเวียน คืออะไร SME ต้องรู้ !

“หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินของกิจการที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี หรือภายในรอบระยะเวลาดำเนินการปกติของกิจการ ซึ่งไม่เกิน 12 เดือนนับจากวันที่ระบุในงบแสดงฐานะการเงิน เช่น เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร, เจ้าหนี้การค้า หรือเงินกู้ระยะยาวที่จะต้องจ่ายภายใน 1 ปี โดยความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียน มักจะแปรผันกับสินทรัพย์หมุนเวียน”

ปกติแล้วธุรกิจส่วนใหญ่จะไม่สามารถประกอบกิจการได้โดยใช้ส่วนทุนของเจ้าของเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องมีทุนจากการกู้ยืมด้วย โดยสินทรัพย์ของกิจการจะเท่ากับส่วนทุนของเจ้าของรวมกับหนี้สิน

ซึ่งหนี้สินของกิจการจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ หนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินไม่หมุนเวียน โดยจะแบ่งตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายหนี้คืน พูดง่ายๆคือหนี้หมุนเวียนจะต้อง “ชำระภายใน 1 ปี” ส่วนหนี้ไม่หมุนเวียน “กำหนดชำระ 1 ปีขึ้นไป”

หนี้สินหมุนเวียน มีอะไรบ้าง?

เราสามารถดูหนี้สินหมุนเวียนได้จาก งบการเงิน (Financial Statement) โดยจะอยู่ในส่วนของ งบแสดงฐานะการเงิน หรืองบดุล (Statement of Financial Position) ซึ่งหนี้สินหมุนเวียน (เรียงลำดับ) ที่เห็นกันบ่อยๆได้แก่

1.เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

  • เงินเบิกเกินบัญชี (Bank overdraft หรือ O/D) คือสินเชื่อรูปแบบหนึ่งที่ธนาคารจะให้ผู้กู้จะสามารถเบิกเงินได้เกินกว่ายอดฝากตามวงเงินที่ได้ โดยนำไปใช้เพิ่มสภาพคล่องในแต่ละวัน สามารถเบิกเงินโดยใช้เช็คผ่านบัญชีกระแสรายวัน

  • เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน (Short-term loans) คือ เงินกู้ยืมระยะสั้นที่มีกำหนดชำระภายในหนึ่งปี นอกจากหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการและเจ้าหนี้อื่น ในงบการเงินมักจะเขียนรวมกับเงินเบิกเกินบัญชี

2. ตั๋วเงินจ่าย

ตั๋วเงินจ่าย (Note Payable) เป็นหนังสือสัญญาที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรที่ระบุจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในอนาคต ซึ่งอาจจะออกให้เจ้าหนี้การค้า ธนาคาร หรือผู้ให้กู้ยืมอื่นๆ

3. เจ้าหนี้การค้า

ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เจ้าหนี้การค้าจะคล้ายๆกับการที่เรา ซื้อของมาแล้วยังไม่ได้จ่ายเงิน ซึ่งกิจการจะต้องชำระค่าสินค้าและบริการให้กับเจ้าหนี้การค้าตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ เจ้าหนี้การค้าก็ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียนประเภทหนึ่ง

4. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินจนกว่าจะถึงรอบถัดไป เช่น ค่าน้ำค่าไฟ เงินเดือนค้างจ่ายจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย หรือภาษีเงินได้ค้างจ่าย เป็นต้น 

5. เงินปันผลค้างจ่าย

เงินปันผลค้างจ่าย (Accrued Dividend) เป็นการที่บริษัทประกาศว่าจะจ่ายเงินปันผล แต่ยังไม่ได้จ่ายจริงๆ ทำให้เงินปันผลค้างจ่ายกลายเป็นหนี้สินหมุนเวียน และผู้ถือหุ้นมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

6. เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี

เป็น ส่วนของหนี้สินระยะยาว ที่จะถึงกำหนดการชำระคืนภายในหนึ่งปี เช่น กู้ธนาคารมา 800,000 บาท ระยะยาวจะผ่อนหมด 10 ปี โดยผ่อนปีละ 80,000 บาท เงินจำนวน 80,000 ที่ต้องชำระในรอบบัญชีจะเป็นหนี้สินหมุนเวียน

7. เงินมัดจำและเงินประกัน

เงินหรือหลักทรัพย์ที่กิจการได้รับจากลูกค้าหรือพนักงานเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะปฏิบัติตามสัญญา หรือประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญา จะต้องคืนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนภายในไม่เกิน 1 ปี

8. รายได้รับล่วงหน้า

เป็นรายได้ที่กิจการได้รับล่วงหน้า ซึ่งส่วนที่ไม่ใช่รายได้ของรอบบัญชีปัจจุบัน จะถือว่าเป็นหนี้สินหมุนเวียน และจะเป็นรายได้ในรอบบัญชีถัดไป

หนี้สินหมุนเวียน บอกอะไรได้?

หนี้สินหมุนเวียนสามารถนำไปหาสภาพคล่องของกิจการได้ โดยนำไปคำนวณหาอัตราส่วนทางการเงินดังนี้ :

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) หรืออัตราส่วนสภาพคล่อง สามารถใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของกิจการ โดยดูว่าสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นกี่เท่าของหนี้สินหมุนเวียน

อัตราส่วนนี้จะบอกให้รู้ว่า หากกิจการชำระหนี้ระยะสั้นไปแล้วจะเหลือสินทรัพย์หมุนเวียนไว้หมุนจ่ายดำเนินงานหรือไม่ ยิ่งค่าสูงยิ่งแสดงว่ามีสภาพคล่องค่อนข้างมาก

*สินทรัพย์หมุนเวียน คือสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ง่าย ใช้จนหมดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสด, ลูกหนี้การค้า หรือ สินค่าคงเหลือ

สรุปง่ายๆคือ “จ่ายหนี้ของปีนี้ไปแล้ว ยังจะมีเงินหรือสินทรัพย์ไว้ใช้หมุนต่ออีกหรือเปล่า”

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน ÷ หนี้สินหมุนเวียน

 

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน มากกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีสภาพคล่องดี น้อยกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีสภาพคล่องต่ำ แต่ถ้าสูงกว่า 1 มากๆก็อาจหมายถึงว่า กิจการใช้สินทรัพย์หมุนเวียนได้ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio) จะคล้ายกับอัตราส่วนทุนหมุนเวียน แต่จะบอกสภาพคล่องของกิจการได้ค่อนข้างดีกว่า เพราะ “หักสินค้าคงเหลือ” ที่สามารถเป็นเป็นเงินสดได้ยาก ออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ) ÷ หนี้สินหมุนเวียน

โดยการอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วไม่ควรน้อยกว่า 1 และสำหรับการบริหารอัตราส่วนนี้ไม่ควรมากเกินไป เพราะจะเหมือนกับการถือเงินสดมากเกินไป ควรนำไปลงทุนดีกว่า

สรุป

หนี้สินหมุนเวียนเป็นหนี้ที่ต้องชำระภายใน 1 ปี สามารถดูได้จากงบแสดงฐานะการเงินในงบการเงิน โดยจะมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกิจการ และสามารถนำไปคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียน และทุนหมุนเวียนเร็ว เพื่อวิเคราะห์กิจการได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://finstreet.co/

“วิธีจัดการหนี้อย่างง่ายๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน”

วิธีจัดการหนี้อย่างง่ายๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน
เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นหนี้แล้วไม่ชำระตรงเวลาถือว่าพลาด เสียเครดิตทางการเงินไปเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงินไป ควรรู้จักวิธีจัดการหนี้ที่อย่างถูกต้องกันค่ะ
1. หยุดก่อหนี้(เสีย)เพิ่ม
ต้องแจกแจงหนี้ให้ได้ว่าอะไรที่เป็นหนี้ดี-หนี้เสีย และอย่าสร้างหนี้ใหม่เพื่อไปโปะหนี้เก่า เพราะจะเป็นการผูกปมสร้างหนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
2. สำรวจหนี้สินที่มี และเช็กความสามารถในการชำระหนี้
ควรตรวจสอบภาระหนี้สินทุกอย่างที่ตนเองมี เพื่อให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน และสามารถนำมาจัดการบริหารรายจ่ายและหนี้สินได้อย่างเหมาะสม
3. วางแผนการเงิน และจัดสรรค่าใช้จ่ายใหม่
ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง แล้วนำเงินส่วนนั้นเปลี่ยนมาเป็นเงินออม และหากต้องการเพิ่มความมั่นคงในชีวิตก็สามารถปรับสัดส่วนการออมเงินให้เพิ่มขึ้นได้
4. หาช่องทางในการเพิ่มรายได้
หารายได้นอกเหนือจากรายได้หลักหรืองานประจำ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับการเงินของตนเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม

“แอบชอบคนคนหนึ่งอยู่ เลยอยากรู้ว่านิสัยการเงินของเขาเป็นอย่างไร” | The Money Case 

คลิกเพื่อรับชม VDO ⇑

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ : THE STANDARD PODCAST  #TheMoneyCase #TheStandardPodcast #TheStandardCo #TheStandardTH

รู้จักคำว่า “สินเชื่อ” คืออะไร พิจารณายังไงบ้าง?

รู้จักคำว่า “สินเชื่อ” คืออะไร พิจารณายังไงบ้าง?

สำหรับในตอนนี้เราจะมาดูกันว่า สินเชื่อคืออะไร และใช้อะไรในการพิจารณาให้สินเชื่อบ้าง มาหาคำตอบกันได้เลย !

“ถ้าสมมุติคุณเป็นคนให้กู้ คุณอยากได้ลูกหนี้แบบไหนครับ?”

ระหว่างคนที่คืนเงินช้า, รายได้น้อย, ไม่มีเงินเก็บ, จ่ายคืนไม่ไหว และ ไม่มีหลักประกัน กับคนที่คืนเร็ว รายได้จ่ายไหว มีเงินเก็บ และมีหลักประกัน

เชื่อว่าถ้าคุณจะให้กู้ คงไม่น่าจะให้ คนแรกกู้ ใช่ไหมครับ เพราะนอกจะได้เงินคืนช้าแล้ว ยังอาจจะทำให้ไม่ได้เงินคืนอีกด้วย

ธนาคารก็คงจะคิดเหมือนคุณครับ เพราะคงไม่มีใครอยากให้คนที่ไม่น่าเชื่อถือกู้ เพราะฉะนั้นให้ก่อนกู้ทุกครั้ง เจ้าหนี้จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า การพิจารณาสินเชื่อ

สินเชื่อคืออะไร?

สินเชื่อ คือความเชื่อใจของฝ่ายหนึ่งที่ตกลงจะให้เงิน หรือสินค้าไปใช้ก่อน โดยมีสัญญาว่าจะนำเงินมาชำระคืนในอนาคต

ซึ่งสินเชื่อสามารถมองในมุมสถาบันการเงิน สินเชื่อก็คือบริการชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดรายได้หลักแก่สถาบันการเงิน เช่น ดอกเบี้ยรับ และค่าธรรมเนียมต่างๆ

สินเชื่อจะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักได้แก่ :

ความเชื่อใจ, การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ, ความเสี่ยง และเวลาในอนาคต โดยสี่ส่วนนี้จะรวมกันเป็นสินเชื่อ ที่เจ้าหนี้จะต้องพิจารณาว่าควรจะมอบให้ผู้กู้หรือไม่

การให้สินเชื่อต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

ส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะใช้ หลัก 5C ในการพิจารณาให้สินเชื่อ ซึ่งจะประกอบด้วย

คุณลักษณะ ความน่าเชื่อถือ (Character)

คือการพิจารณาที่ตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร มีนิสัยทางการเงินอย่างไร และมีประวัติการใช้เงินที่ดีหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะถ้าลูกหนี้ไม่มีความซื่อสัตย์ และรับผิดชอบ อาจจะทำให้เกิดหนี้สูญได้

ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity)

ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะถึงแม้อยากจะคืนหนี้แค่ไหน แต่ถ้าหากไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ก็ไม่สามารถคืนเงินได้ ส่วนใหญ่มักจะดูจากแนวโน้มความสามารถที่จะทำกำไรของธุรกิจ หรือถ้าเป็นบุคคลทั่วไปคือการพิจารณารายได้

ทุนที่จะนำมาลง (Capital)

โดยปกติแล้ว ในการกู้จะต้องนำทุนส่วนตัวมายื่นกู้ด้วย ถ้าเป็นธุรกิจไม่ควรที่จะมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนมากเกินไป

หลักประกัน (Collaterals)

คือสิ่งที่นำมาประกอบกับการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้ได้วงเงินสูงขึ้น ตัวอย่างหลักประกันที่ใช้ประกอบสินเชื่อ เช่น ที่ดิน สถานประกอบการ เครื่องจักร รถ ฯลฯ

เงื่อนไข (Condition)

เป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการพิจารณาสินเชื่อ เป็นสิ่งที่ธนาคารกำหนดขึ้นเพื่อใช้กับผู้กู้แต่ละราย เช่น วงเงิน และหลักในการให้สินเชื่อ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : https://finstreet.co/สินเชื่อคืออะไร

เรื่องของเครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) ที่ทุกคนควรรู้

เรื่องของเครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) ที่ทุกคนควรรู้

เรื่องของเครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) ที่ทุกคนควรรู้

เครดิตสกอริ่ง คืออะไร?
เครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) คือตัวเลขหรือเครื่องหมายจากผลรวมการประเมินทางสถิติ ว่าแต่ละคนมีโอกาสจะชำระหนี้คืนมากน้อยแค่ไหน โดยดูจากประวัติการก่อหนี้ และการชำระหนี้ในอดีต

_____________

ปัจจัยบ้างอะไรที่มีผลกับคะแนน?

– ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ
– ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
– จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด
– จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
– ความยาวของประวัติสินเชื่อ
– จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี
– ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
– ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่

หมายเหตุ: ปัจจัยที่ใช้คำนวณขึ้นอยู่กับประวัติของแต่ละบุคคล

_____________
คะแนนเครดิตสกอริ่งดี ๆ มีประโยชน์ยังไง?

1. เพิ่มโอกาสให้ลูกค้า (เจ้าของข้อมูล) ได้รับบริการสินเชื่อ ที่สอดคล้องกับข้อมูลความสามารถในการชำระหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ของตนเองมากกว่าเดิม

2. รู้ทันสุขภาพการเงินของตัวเอง มีความรู้ที่จะไม่สร้างความเสี่ยงทางการเงินให้แก่เจ้าของข้อมูลเกินสมควร รวมไปถึงการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการเงิน การบริหารการเงินของเจ้าของข้อมูลให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

3. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน และเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในฐานะที่บริษัทเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของระบบสถาบันการเงิน

_____________
วิธีอ่านค่าเครดิตสกอริ่ง
1. ประเภทคะแนนเครดิต:
แสดงค่าเป็น Version Score ของคะแนนเครดิต ใช้สำหรับภายในบริษัท เป็นค่าคงที่ แสดงถึง Version ที่ 1
2. คะแนนเครดิต:
แสดงคะแนนเครดิต (600-900)
3. ระดับคะแนนเครดิต:
แสดงระดับคะแนนเครดิต (AA-HH) ที่ได้จากการคำนวณทางสถิติ โดยใช้ข้อมูลเครดิต
4. ความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน:
แสดงค่าเป็นเปอร์เซ็นต์
5. ตารางคะแนนเครดิต:
แสดงช่วงคะแนน และระดับคะแนนเครดิต
6. คำอธิบายประกอบการให้เครดิต:
แสดงเหตุผลประกอบการได้คะแนนเครดิต
7. คำอธิบายความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน:
เช่นในตัวอย่างคือ “จากข้อมูลเชิงสถิติ พบว่าลูกหนี้จำนวน 88 คน จากจำนวนทั้งหมด 100 คน มีโอกาสจะชำระคืนได้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า”

หมายเหตุ: การแสดงผลขึ้นอยู่กับประวัติของแต่ละบุคคล

ดูตัวอย่างรายงานฉบับเต็มที่นี่
https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/ncb-score

_____________
บุคคลธรรมดา ยื่นตรวจ เครดิตสกอริ่ง ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง ดังนี้

– ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
 จันทร์-ศุกร์ | 9.00-16.30 น.
– เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (BTS อารีย์ ทางออก 1)
 จันทร์-ศุกร์ | 9.00-18.00 น.
– ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
 จันทร์-ศุกร์ | 9.00-18.00 น.
– ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี)
 จันทร์-อาทิตย์ | 9.00-18.00 น.
– ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม
 จันทร์-อาทิตย์ | 9.00-18.00 น.

โดยแสดงบัตรประชาชนของตนเอง รอรับผลได้เลยใน 15 นาที ค่าบริการ 200 บาท

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/ncb-score

ก่อนจะถามว่าจด VAT ดีไหม ? มาเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อนดีกว่า

ก่อนจะถามว่าจด VAT ดีไหม ? มาเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อนดีกว่า

วันนี้มีอีกเรื่องนึงที่อยากจะมาพูดคุยให้ฟัง นั่นคือเรื่องของ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ที่ใครหลายคนเคยได้ยินมา แต่ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรและจะจดไปทำไม?

  ก่อนจะเข้าเรื่องนี้.. ผมขออธิบายความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนนะครับว่ามันคืออะไร ภาษีมูลค่าเพิ่มก็คือ ภาษีอากรอีกประเภทหนึ่ง ที่เรียกเก็บจากการบริโภคของประชาชน โดยคิดในอัตรา 7% ของราคาขายหรือให้บริการ

  ถ้าหากลองสังเกตรายจ่ายในทุกๆวันของเราดู เรามักจะเห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี” อยู่ในกระดาษที่ทางร้านค้าต่างๆส่งให้เมื่อชำระเงิน และเจ้าใบกำกับภาษีที่ว่าจะมีตัวเลขบอกว่าเงินที่เราจ่ายไปนั้น มี “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” อยู่ในนั้นเป็นจำนวนเท่าไร เช่น ซื้อสินค้าในราคา 1,000 บาท เราจะเห็นตัวเลขค่าสินค้าราคา 1,000 บาทและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 70 บาท รวมทั้งสิ้นที่ต้องจ่ายเป็น 1,070 บาท

 ดังนั้นถ้าหากใครมีการใช้จ่าย (ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) มาก ก็แปลว่าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตรงนี้มากตามไปด้วยครับ ซึ่งปกติแล้วมักจะอยู่ในการใช้จ่ายของเราทั้งหมด ตั้งแต่เดินห้าง ซื้อของร้านค้า ไปจนถึงราคาค่าอาหารต่างๆ ล้วนมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ทั้งสิ้น

เสีย VAT แล้วทำไมยังเสียภาษีเงินได้อีก

หลายคนอาจจะนึกในใจว่า “เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว แล้วทำไมยังต้องเสียภาษีเงินได้อีก” ใช่ครับ ต้องเสียทั้งสองตัว เพราะ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ถือเป็น “ภาษีทางอ้อม” หรือ ภาษีที่สามารถผลัก “ภาระ” ไปให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทนนั่นเองครับ

ตัวอย่างเช่น บริษัท ออมมันนี่ จำกัด ได้ซื้อวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์มาจำนวน 107 บาท โดยมีราคาสินค้าจำนวน 100 บาทและภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายและขายให้บริษัท อินโฟกราฟฟิก จำกัด ในราคา 200 บาท บริษัทออมมันนี่ จะต้องเรียกเก็บภาษีขายจำนวน 14 บาท ทำให้มูลค่าสินค้าทั้งสิ้นกลายเป็น 214 บาท

และในแต่ละเดือน บริษัทออมมันนี่จะมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรเฉพาะผลต่างระหว่างภาษีซื้อ (ที่จ่ายไป) กับภาษีขาย (ที่เก็บมา) จำนวน 14 – 7 = 7 บาท ให้แก่กรมสรรพากรครับ

แต่ถ้าหากคนที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้บริโภคอย่างเราๆที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ผมขอบอกเลยครับว่า ภาษีที่จ่ายไปนั้นไม่สามารถไปหักออกหรือขอคืนใครได้ เพราะเราต้องจ่ายเต็มๆทั้งจำนวนจ้า (แหม่ … ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภค)

ส่วนภาษีเงินได้นั้นถือเป็น “ภาษีทางตรง” หรือภาษีที่ผู้เสียภาษีต้องเป็นผู้แบกรับภาระของภาษีนั้นทั้งหมดด้วยตัวเอง โดยเก็บจากรายได้ (เงินได้สุทธิ หรือ กำไรสุทธิ) ซึ่งถือเป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายครับ

เมื่อไรควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทีนี้ในฐานะของการเป็นเจ้าของธุรกิจ มักจะมีคำถามต่อมาครับว่า แล้วเมื่อไรควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตรงนี้ผมขอให้ข้อสังเกตไว้เป็นขั้นตอนดังนี้ครับ

  1. ธุรกิจเราได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่คำถามแรกที่เราต้องถามก็คือ ประเภทการประกอบธุรกิจของเรานั้นได้รับสิทธิยกเวันภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ถ้าได้รับสิทธิยกเว้นก็แปลว่าไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ (ดูประเภทธุรกิจได้ที่กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย)

 

  1. ธุรกิจเรามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่คำถามต่อมาก็คือ ถ้าหากเราไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แล้วธุรกิจของเรานั้นมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือยัง ซึ่งถ้าหากถึงเกณฑ์แล้วสิ่งทีต้องรีบปฎิบัติคือ การขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทเป็นต้นไปครับ

แต่อีกทางหนึ่งที่อยากให้พิจารณาคือ ถ้าหากเรามองว่าธุรกิจของเรานั้นมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีแน่ๆแล้วล่ะก็ การเลือกจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่แรกก็เป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่งครับ เพราะบางกิจการอาจจะต้องการใช้สิทธิขอคืนในส่วนของภาษีซื้อในช่วงเริ่มดำเนินกิจการก็ได้ครับ

ภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่ต้นทุนของกิจการ

มีหนึ่งคำถามในเพจ ภาษีธุรกิจ101 ถามมาครับว่า กรณีที่กิจการเข้าหลักเกณฑ์ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำให้ต้นทุนของเราสูงกว่าคนอื่นหรือเปล่า เพราะหากกิจการของอีกฝ่ายไม่เข้าหลักที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางนั้นก็จะไม่มีต้นทุนในเรื่องนี้

ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานครับ ในแง่การจัดการและการบริหารต้นทุน แต่ผมอยากให้มองแยกกันก่อนครับว่า ภาษีซื้อ ไม่ใช่ต้นทุน และ ภาษีขาย ไม่ใช่รายได้ แต่ละส่วนนั้นแยกจากกันครับ

จากตัวอย่างเดิมที่ยกมาในตอนแรกของบทความ จะเห็นว่าภาษีนั้นถูกแยกออกจากราคาของสินค้าและบริการ และวิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปนั้นจะเรียกว่า วิธีภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ หรือ ภาษีขายลบด้วยภาษีซื้อ และถ้าหากในเดือนไหนภาษีขายมีมากกว่าภาษีซื้อ ส่วนต่างนี้จะถูกนำส่งให้แก่กรมสรรพากร

ดังนั้น สำหรับการขายสินค้าที่ดีและถูกต้อง ผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลายจึงควร “ตั้งราคา” ที่ไม่รวมภาษีไว้ก่อน แล้วจึงค่อยคำนวณ “ภาษี” เข้าไป “เพิ่ม” ครับ

ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าในราคา 1,000 บาท ต้องบวก “ภาษีขาย” เข้าไปอีก 70 บาท เมื่อเรียกเก็บจากลูกค้า จะต้องเรียกเก็บในราคา 1,070 บาท ซึ่งแปลว่าเราจะมีรายได้ 1,000 บาท ส่วน 70 บาทนั้นแยกเป็นส่วนของภาษีที่ต้องนำส่งสรรพากรหลังจากหัก “ภาษีซื้อ” ที่เราได้จ่ายไปให้กับผู้ผลิต 

ทีนี้ปัญหาที่ถามมาก็คือ ในกรณีที่บริษัทหรือคู่แข่งไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะได้รับสิทธิขายแค่ 1,000 บาทใช่ไหม? เพราะเวลาขายไม่ต้องรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และถ้าเป็นกิจการที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับราคา ก็ยิ่งทำให้มีผลต่อการตัดสินใจไม่ใช่หรือ..

แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่สามารถเอาภาษีซื้อมาใช้ได้เช่นเดียวกัน เช่น ซื้อสินค้าราคา 500 บาท มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 35 บาท รวมจ่ายไปทั้งสิ้น 535 บาท ซึ่งจำนวนนี้จะแตกต่างกันตรงที่ คนที่จะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะสามารถนำภาษีซื้อจำนวน 35 บาทมาหักออกจากภาษีขาย 70 บาทและนำส่งสรรพากรได้ ในขณะที่คนที่ไม่ได้จดจะต้องแบกรับต้นทุนจำนวน 535 บาท

ถ้ามองภาพรวมในระบบภาษีแล้ว จะเห็นว่าฝ่ายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้เปรียบมากกว่า ถ้าหากมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เพราะเงิน 70 บาทนั้น เรียกเก็บจากลูกค้า และภาษีซื้อจำนวน 35 บาทสามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้ (ไม่เสียอะไรเพิ่ม)

แต่ถ้ามองอีกภาพหนึ่ง สิ่งที่น่ากังวล คือ ราคาขายรวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันจำนวน 70 บาท จะทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจหรือไม่ในการซื้อ ซึ่งถ้าหากลองปรับให้เป็นราคาขายรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 1,000 บาท สิ่งที่เปลี่ยนไปจะเป็นดังนี้ครับ

ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าหากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะพยายามแข่งขันทางด้านราคา กำไรขั้นต้นจะต่ำกว่าร้านค้าที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทันทีครับ

แต่สิ่งหนึ่งที่ร้านจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับ นั่นคือ โอกาสในการขยายกิจการที่จะมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีและการเติบโตในอนาคต ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าทางเจ้าของธุรกิจทั้งหลายจะเลือกทางเหมาะสมทางไหนให้กับธุรกิจของตัวเองครับ

มาถึงตรงนี้ ใครหลายคนอาจจะเลือกตัดสินใจจะไม่เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและใช้วิธีกระจายรายได้ให้แต่ละคนไม่เกิน 1.8 ล้านบาทแทนเพื่อความสะดวกและสบาย แต่ผมขอยกคำถามที่เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ในบทความ เพราะภาษีไม่ได้ทำให้กำไรของธุรกิจลดลงเพียงอย่างเดียว ว่า การเลือกที่จะทำแบบนี้อาจจะเป็นการตัดโอกาสในการเติบโตของธุรกิจเราอยู่หรือเปล่า และสุดท้ายเรานี่แหละจะต้องกลายเป็นคนเสียภาษีมากขึ้นกว่าเก่าโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://aommoney.com/