ข่าวสารน่ารู้

CHAPTER I

“หากเรามัวแต่ทำในสิ่งที่เราทำได้ เราก็จะไม่มีวันเติบโตขึ้นมากกว่าตอนนี้!!!”

 “ก้าวข้าม Comfort Zone ในตัวคุณ สู่การสร้าง Growth Zone แห่งใหม่ (ด้วยหลักการง่ายๆ กล้าก้าว…กระโดดหรือลงมือทำ, >> กล้าเผชิญหน้ากับความสมหวัง ผิดหวังหรือล้มเหลว ทำอย่างต่อเนื่อง,>> ก้าวทันทุกเหตุผลสร้างผลลัพธ์ให้เกิดขึ้น ดีขึ้นและเก่งขึ้นกว่าจุดเดิมๆ)”

หากเรามัวแต่ทำในสิ่งที่เราทำได้ เราก็จะไม่มีวันเติบโตขึ้นมากกว่าตอนนี้!!! อ่านต่อ...

“โลกใบนี้ไม่มีอะไรอยู่ในสภาวะเท่าเดิมตลอดเวลา ไม่เฉียบคมขึ้นก็ทื่อไปเลย ถ้าไม่ก้าวหน้าก็อาจจะเเปลว่ากำลังอยู่กับที่หรือถอยหลังแบบเสมอตัว” ขนาดอายุเรายังเพิ่มขึ้นๆ ทุกนาทีเลยจะมีอะไรที่แน่นอนอีกบ้าง เมื่อเป็นแบบนี้แล้วการติดอยู่ในพื้นที่สุขสบาย อยู่จุดเดิมไปเรื่อยๆ ชิลๆ ความรู้สึกนี้จะทำเราไม่สามารถทำอะไรแปลกใหม่ได้ จะขัดขวางไม่ให้ความปรารถนาของคุณเป็นจริง หรือก้าวไปได้ไม่ไกลอย่างที่ควรจะเป็น เชื่อเถอะทุกคนมีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา อยู่ที่ว่าเป้าหมายชัดเจนหรือความฝันของเรานั้นคืออะไรกันแน่!! ถ้ารู้แล้วละก็ อย่ามัวนอนหรือยืนนิ่งๆ ดึงตัวเองขึ้น กำกำปั้นบอกตัวเองสู่ต่อไป ลุกขึ้นแล้วพยายามกระโดดข้ามขีดจำกัดตัวเอง เคลื่อนที่ต่อไป คุณทำได้ สู้ๆ ผมเอาใจช่วย ฮึ๊บ!!
.
#เสริมแรง : ก่อนที่ใครจะกล้าลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ก็ต้องผ่านจุดเริ่มต้นไปให้ได้ เอาหละครับทีนี้เรามาโฟกัสที่แนวคิด เทคนิค และการเตรียมตัวในแต่ละช่วงเวลาของการเดินทางจาก Comfort Zone สู่การสร้าง New Growth Zone ว่าแล้วไปทำความรู้จักแต่ละ Zone กัน ฮึ๊บ!!
.
— — — — —
?0️⃣ Comfort Zone
คือพื้นที่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือว่าเรื่องการดำเนินชีวิต มันเป็นสิ่งที่เราถนัด เคยทำมาแล้วซ้ำๆ บางทีชำนาญถึงขั้นหลับตาทำแล้วการันตีผลลัพธ์เลยก็ได้ ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มมากมาย แค่อยู่เฉยๆ หรือทำแบบเดิมๆ ก็ได้ในสิ่งที่เราเคยได้และพอใจอยู่แล้ว (ชิลๆ สบายๆ ไม่เครียด แบบนี้ก็ดีอยู่แล้วไม่ต้องพัฒนาตัวเองเลยเราก็อยู่ได้ ใครอยากจะไปได้ไกลเร็วๆ ก็เชิญ…ฉันไม่รีบ)
.
— — — — —
?1️⃣ Fail Zone
คือจุดที่ทำให้เราก้าวถอยหลัง (Fail zone) นั้นเราไม่ได้สร้างขึ้นหรอก แต่มันเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ ถ้าเรายังคงอยู่ใน Comfort Zone เดิมๆ ของเราไปเรื่อยๆ Comfort Zone ของเราก็จะเริ่มเล็กลงไปเรื่อยๆ และจะถูกแทนที่ด้วย Fail Zone นั่นเอง
.
ในยุคนี้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21 Century Skills) เป็นที่พูดถึงกันแพร่หลาย และทุกภาคส่วนตื่นตัวเป็นอย่างมาก เพราะว่าการแข่งขันเข้มข้นอย่างนี้ การอยู่เฉยๆ ยืนดูคนอื่นวิ่ง ก็คือการนับถอยหลังออกจาก comfort zone มาสู่ fail zone เหมือนลูกโป่งลูกใหญ่ๆ ที่ตั้งทิ้งไว้ ลมจะเริ่มออกทีละวันๆ จนแฟบลงในที่สุดแล้วก็ถูกทิ้งลงถังขยะ
.
— — — — —
?2️⃣ Fear Zone
บางทีเราอยากได้อะไร แต่เราก็ไม่ลงมือทำสักที (ถ้าไม่ลองกระโดดเลยเราจะอยู่รอดยากขึ้น) โดยบางคนมักจะมีข้ออ้างว่า “ทำไม่เป็น” “ไม่เคยทำ” “ไม่มีความรู้” แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เหตุผลลึกๆ จริงๆ คือเราไม่ได้อยากได้สิ่งนั้นอย่างแรงกล้าจริงๆ หรือไม่ (เป้าหมายไม่ชัดเจนว่าอีกกี่ปีข้างหน้าเราจะทำอะไรได้บ้าง จะไปถึงไหน เก่งด้านไหนเพิ่ม ทำอะไรให้สำเร็จบ้าง ?)
.
เราก็กลัวว่าถ้าเราทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จแล้วเราก็จะสูญเสียสิ่งที่เรายังเคยมีอยู่ใน Comfort Zone ปัจจุบัน ถ้าด้วยเหตุผลข้อแรกก็อาจจะยากสักนิด แต่ถ้าเป็นข้อหลัง แสดงว่าเราอยู่ใน Fear Zone คือจุดกลัวความผิดพลาดที่ “อาจ” เกิดขึ้นได้ในอนาคต ใครๆ ก็กลัวได้ ไม่แปลกหรอก …… แต่ มันมีทางแก้
.
ลองหยิบกระดาษและปากกามา List เป้าหมายของเราทั้งหมดที่อยากจะทำให้สำเร็จ อยากจะรู้อยากจะเป็นอยากจะเก่งอะไรขึ้นบ้าง อยากจะไปถึงจุดไหนในอีกไม่กีปีข้างหน้า เขียนออกมาให้เยอะที่สุดว่าอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่สักที เราจะได้มา list มายาวเหยียดเลย จากนั้นเลือกมาเพียงแค่ 3 ข้อ (อันดับสำคัญๆ) ถ้าไม่ถึง 3 ก็ไม่เป็นไรนะ (การที่เราให้คิดวิเคราะห์ทบทวนตัวเอง แล้วกลั่นกรองเขียนออกมาเป็นข้อความได้ ก็เท่ากับว่าเราได้กระโดดไปอีกขั้น เริ่มเห็นเป้าหมายชัดเจนขึ้นแล้ว
.
— — — — —
?3️⃣ Learning zone
คือเข้าสู่ช่วงเวลาที่ “เปลี่ยนจากความกลัวเป็นความรู้” (กล้าเขียนเป็นข้อความออกมา หรือกล้ากระโดดไปอีกขั้น) ก็เริ่มต้นโฟกัสที่จะสร้างความรู้ให้ตัวเองใน 3 สิ่งที่กำหนดไว้ใน Fail Zone ระยะเวลาที่ใช้ใน learning zone ของแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความทุ่มเท พยายาม ความรู้พื้นฐานเดิม และ learning speed ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนสามารถค้นหาจุดเด่น จุดด้อยของตัวเองได้ แล้วก็เข้าสู่การศึกษาค้นคว้าพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องในด้านที่ยังขาด และเพิ่มศักยภาพจุดแข็งที่มีอยู่ เพื่อจะทำให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง (จากที่กระโดดมา 2 ขาหน้าเราเริ่มแต่ะถึงพื้นล่ะ โอกาสสำเร็จ 50/50 แว้ว!!)
.
— — — — —
?4️⃣ Transferring Zone
เป็นเหมือนช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะเราจะได้ไปต่อหรือไม่เดินกลับหันหลัง ตอนเราเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ช่วงแรกๆ ทุกอย่างดูใหม่ ดูตื่นเต้น แต่พอไปสักพักเราต้องเรียนให้ลึกขึ้น ยากขึ้น มันสามารถเกิดเหตุการณ์ได้ 2 อย่าง
.
อย่างแรกคือ มันเริ่มยากจนเราเริ่มรู้สึกกังวลไปหมด อาจจะเครียดจนหยุดทำ และเดินกลับไปสู่ Comfort Zone เดิม เรียกจังหวะการตัดสินใจนี้ว่า panic timing
.
แต่ถ้าความต้องการของเราอย่างแรงกล้า ในความมึนๆ งงๆ กับการเรียนรู้เรื่องยากๆ เราจะก็จะสามารถสร้างความฮึกเหิมที่จะอดทนเพื่อฝึกฝนต่อไป เรียกช่วงเวลานี้ว่า brave timing
.
(แต่โชคดีที่ยุคนี้เรามีตัวช่วย หลากหลายช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ มีกรูมากมายในด้านต่างๆ แถมมีให้เราได้ศึกษา เรียนรู้แบบฟรีๆ อีกต่างหาก แน่นอนเราจะไปไกลและเร็วขึ้นถ้าได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ โค้ช ผู้เชี่ยวชาญในสิ่งที่เรากำลังมุ่งไป หรือกำลังต้องการจะพัฒนาเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย อยู่ที่ใจจะไขว้คว้าหละ)
.
— — — — —
?5️⃣ Growth Zone
เป้าหมายที่เราได้เขียนหรือปักหมุดไว้ (3 ข้อ) เริ่มชัดเจนขึ้นใกล้ความจริงเข้ามาทุกที ซึ่งก็มาจากความรู้ที่เราได้สะสมมาจาก Learning Zone และ Transferring Zone ก็จะก้าวก้าวสู่ Growth Zone คือการนำความชำนาญนั้นมาสร้างโอกาสและการการเติบโตในเรื่องใหม่ๆ ให้กับเราได้ ช่วงเวลาใน Growth Zone จะ enjoy ไปซะทุกอย่าง
.
เราเริ่มได้อะไรที่เราหวังไว้ตั้งแต่แรก เป็นเหมือนช่วงเวลาทองคำ หรือ golden time อีกครั้ง พอระยะเวลาผ่านไปสักพัก เราจะสะสมความชำนาญไปมากๆ แล้วก็จะเริ่มทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ Growth Zone อันนี้ก็จะแปลงมาเป็น comfort zone แล้วเราก็จะกลับเข้ามาสู่วัฎจักรการพัฒนา Growth Zone อันใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง
.
? ● ✌️? ออกจาก Comfort Zone ซะ! ถ้าอยากเปลี่ยนเปลงชีวิตตัวคุณ….แล้วจะได้ลุยและเรียนรู้อะไรแปลกใหม่ แล้วอย่าลดละความพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในงานเดิมก็ยังดี) สู้ๆ นะคะ
— — — — —
● ?? ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :

 

CHAPTER 2

มาตราการ Soft Loan คืออะไร?

10 ข้อเท็จจริง soft loan แบงก์ชาติ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : Facebook ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand